แผ่นพับ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์บริหารท่องเที่ยวเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และทางธรรมชาติ ในเขตตำบลโนนทองพระองค์ใหญ่ วัดป่าผาน้ำจั้น บ้านวังเลา หมู่ 1 "กราบไหว้พระประธานที่วัดผาน้ำจั้น บ้านวังเลาหมู่ที่ 1 ซึ่งอาจารย์บุญจันทร์ สิริจันโท พร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนชาวตำบลโนนทอง และยังเป็นจุดชมวิวเพื่อดูภูมิทัศน์ของตำบลโนนทอง"
⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
พระพุทธรูปดินเหนียว บ้านเชียงดี หมู่ที่ 3 "ไหว้พระพุทธรูปดินเหนียว(มีอายุมากกว่า 60 ปี) เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวที่บ้านเชียงดีหมู่ที่ 3"
⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
วัดสัมมัฏฐมุขขาราม บ้านปากเจียง หมู่ 6
"ถ่ายภาพกับสะพานสวยๆ ท่ามกลางภูเขาที่บ้านปากเจียงโนนทองระหว่างหมู่ที่ 69 และหมู่ที่ 9 ตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี" ⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
น้ำตกเขาเต่า บ้านปากเจียง หมู่ 6
"ชมธรรมชาติที่สวยงามและสูดอากาศบริสุทธิ์ที่บ้านนาเมืองทอง หมู่ที่ 11 จังหวัดอุดรธานี" "เที่ยวน้ำตกเขาเต่าเชิงอนุรักษ์ที่บ้านปากเจียง หมู่ที่ 6" ⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
|
หุ่นขี้ผึ้งของเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านสมประสงค์ หมู่ 8 "ไหว้หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เจ้าอาวาสวัดป่าสมประสงค์(วัดน้ำตก) หมู่ที่ 8"
⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
ประวัติคามเป็นมาของพระพุทธรูปดินเหนียว "เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้วหลวงปู่คง เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านเชียงดี ตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ต้องการที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ให้ชาวบ้านเชียงดีได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของขาวบ้านให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงให้ชาวบ้านร่วมกันสร้างพระพุทธรูปโดยหลวงปู่คงเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างและนำดินเหนียวผสมกับยางบง(ยางลงคือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้งเปลือกมีน้ำยาเมือกใสขาวเหมือนนมสดเมื่อแกะเอาเปลือกของต้นยางมาแข่น้ำแล้วจะได้น้ำเหนียวๆ สีขาว ซึ่งเรียกว่ายางบง) ปั้นบนโครงเหล็กที่หลวงปู่คงได้ออกแบบไว้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถสร้างองค์พระที่แข็งแรงจนถึงปัจจุบัน"
"สมัยก่อนนั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา ได้นำของมีค่าของตนนั้นใส่ลงในองค์พระพุทธรูปก่อนที่จะหล่อเป็นพระพุทธรูปเพราะเชื่อว่าเป็นศิริมงคลแก่ผู้ถวาย ด้วยเหตุนี้ จึงมีโจรมาทำลายองค์พระพุทธรูปโดยใช้มีดและค้อนทุบเพื่อขโมยของมีค่าในพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถทำลายพระพุทธรูปได้ เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวบ้านเชื่อในความศักดิ์สิทธิของพระพุทธรูปองค์นี้"
⇒ คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
|